มีเสียงเตือนจากนักวิชาการหลายสำนักว่า ระวังให้ดีปลายเดือนเมษายนนี้ อากาศบ้านเราจะร้อนถึงขีดสุด และดีไม่ดีอุณหภูมิอาจพุ่งเกิน 40 องศาเซลเซียสด้วยซ้ำ เพราะผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ โดย ความแปรปรวนของธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่เพียงบ่งบอกถึงการปะทุรุนแรงของภาวะโลกร้อน แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพด้วย
เชื่อหรือไม่คะว่า ผลจากภาวะโลกร้อน อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยมากมายนับไม่ถ้วน ไล่ ตั้งแต่อาการพื้นๆ อาทิ ตาแห้ง, ตาแดง, แสบตา, ตามัว, ขี้ตาเหนียว, เกิดสิว, ฝ้า, กระสี และกระเนื้อ, อาการร้อนใน, นอนกรน, ปากคอแห้ง, ริมฝีปากแตกเป็นขุย, ผมร่วง, มีรังแค, เส้นเลือดขอด, กล้ามเนื้อเกร็ง, ผิว หนังเกิดผื่นแดง ไปจนถึงอาการรุนแรงที่นำไปสู่โรคร้าย เช่น งูสวัด, เจ็บปลายลิ้น, หายใจร้อน, เสมหะเหนียวข้นและขาวขุ่น, รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ไหล และถ้าเป็นมากๆอาจเจ็บแปลบที่หน้าอก จนร้าวไปถึงส่วนอื่นๆของร่างกาย
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะเมื่อปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ชาวเมลเบิร์นต้องเสียชีวิตด้วยอาการฮีตสโตรก เป็นผลมาจากคลื่นความร้อนโหมกระหน่ำ อาการที่ว่านี้ทำให้เป็นลมแดดเฉียบพลันรุนแรง เนื่องจาก ระบบระบายความร้อนของร่างกายล้มเหลว ส่งผลให้ อวัยวะภายในเกิดอาการสโลว์ คุก คือ สุกอย่างช้าๆ ตัวร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อ กระหายน้ำมาก หายใจหอบถี่เร็ว หน้ามืดหมดสติ และถ้าช่วยไม่ทันอาจถึงแก่ชีวิต
ในหนังสือ เผชิญโลกร้อน ผจญโรคร้าย ของสำนักพิมพ์แสงแดด เขียนโดย "นิดดา หงษ์วิ-วัฒน์" ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด แนะนำวิธีง่ายๆในการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับภาวะโลกร้อน และหนีไกลจากโรคร้าย
เริ่มจาก งดอาหารที่เพิ่มดีกรีความร้อนให้ร่างกาย เช่น อาหารที่ปรุงนาน และใช้ความร้อนสูง ประเภททอด-อบ-ปิ้ง-ย่าง, อาหารรสจัดจ้าน ทั้งเผ็ดจัด, หวาน จัด, เค็มจัด และมันจัด ใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ปรับอารมณ์เสียใหม่ พยายามทำอะไรให้ช้าลง เดินช้า พูดช้า กินช้า ออก กำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เล่นโยคะ หรือแกว่งแขนตามตำราจีน ช่วยให้เลือดลมและน้ำ-เหลืองหมุนเวียนดี เคี้ยวอาหารให้ ละเอียด กระเพาะจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องแทนการดื่มน้ำเย็น เพื่อช่วยปรับสมดุลร่างกาย และ กินอาหารตามลำดับการย่อย เริ่มจากที่ย่อยง่ายไปหาย่อยยาก จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานง่าย ไม่เกิดอาการคั่งค้างในกระเพาะ เริ่มจากทานผลไม้และผักสด แล้วตามด้วยอาหารจานหลัก โดยเก็บเนื้อสัตว์ไว้ทานสุดท้าย.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวสตรี
24 เมษายน 2553, 05:45 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น