วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีรับมือภาวะอ่อนล้าของสาววัยทำงาน

เมื่อผู้หญิงเรา เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงาน สิ่งแรกที่ต้องเจอคือ ภาระและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น แถมยังต้องเจอกับอายุที่เพิ่มขึ้นทุกวันด้วยเหตุนี้หลายคนจึงหนี ไม่พ้นอาการอ่อนล้าจากภาวะที่เรียกว่า “Energy Short” หรือพลังงานเกิดการลัดวงจรจากการที่ร่างกายทำงานหนัก ทางออกที่ดีคือการหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกายและใจด้วย 5 เคล็ดลับจาก มรว.พรรณนิภา จันทรทัต ประธานชมรมโภชนวิทยามหิดล มาฝากกัน

กินอาหารเช้าเป็นประจำ ก่อนจะใช้พลังงานในการทำงานตลอดทั้งวันร่างกายจำเป็นต้องเติมพลังงานและสาร อาหารเสียก่อน เพราะในขณะนอนหลับเราไม่ได้รับสารอาหารเพิ่มเติมแต่ร่างกายยังคงใช้สารอาหาร ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นมื้อเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่การงดอาหารเช้ากลับเป็นกิจวัตรยอดฮิตของคนทำงาน เพียงเพราะคำอ้างที่ว่าไม่มีเวลา
ทางออกที่ดีสำหรับคนทำงาน คือ กินอาหารเช้าที่ง่าย สะดวกแต่ยังคงมีคุณค่า เช่น นมหรือเครื่องดื่มธัญญาหารธรรมชาติ แซนวิชทูน่าโฮลวีทและผลไม้ เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างครบถ้วนและไม่มีไขมันสูง เท่านี้ก็พร้อมรับมือกับการเริ่มต้นทำงานในแต่ละวันแล้ว
ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มธัญญาหารระหว่างวัน ภาวะขาดน้ำอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้า ในระหว่างวันจึงควรดื่มน้ำเพื่อเพิ่มความสดชื่นและกระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้ กระเปร่าพร้อมจะทำงานอยู่เสมอ หรือหันมาดื่มเครื่องดื่มที่ให้คุณประโยชน์จากสารอาหารธรรมชาติแบบหวานน้อย แทนเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมและกาแฟ
เพราะปัจจุบันเครื่องดื่มบางชนิดได้เพิ่มคุณประโยชน์จากธรรมชาติเข้าไป เช่น มอลต์ นมโค งาดำ ลูกเดือยถั่วเหลือง หรือจมูกข้าวสาลี ซึ่งล้วนเป็นแหล่งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แคลเซียมและแร่ธาตุหลายชนิด จึงช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างรวดเร็วและลดอาการล้าอ่อนเพลียจากภาวะ ที่เรียกว่า “Energy Short” ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยให้อยู่ท้องไม่หิวระหว่างวันอีกด้วย
กินอาหารถูกหลัก โดยกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญญาหาร ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ซึ่งมีเส้นใยสูงจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กินไขมันดี (HDL) เช่น น้ำมันมะกอก ปลาทะเล เป็นต้น กินโปรตีนเล็กน้อย โดยเลือกโปรตีนที่ดี ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา เต้าหู้ ถั่วต่างๆ เพราะโปรตีนจะช่วยให้ทำงานได้นานกว่าการกินแต่คาร์โบไฮเดรต เพิ่มผักผลไม้และธัญญาหารในมื้ออาหารให้มากขึ้น อาจใช้วิธีกินผักครึ่งหนึ่งอาหารอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และอย่าลืมดื่มนมหรือเครื่องดื่มธัญญาหารอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว เพื่อเพิ่มแคลเซียม
เติมพลังงานด้วยอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ เพื่อให้มีพลังงานอยู่ตลอดทั้งวัน เพราะคนทำงานต้องใช้ทั้งพลังงานร่างกายและสมองตลอด 8-12 ชั่วโมง โดยในมื้อย่อยให้กินอาหารที่มีเส้นใย ไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ เช่น เครื่องดื่มธัญญาหาร เครื่องดื่มผสมมอลต์ โยเกิร์ต ซึ่งล้วนเป็นอาหารว่างที่ให้พลังงานต่ำ มีสารอาหารและกากใยสูง เลิกนิสัยแบบเดิมๆ ที่มักกินขนมปัง กาแฟ หรือคุ๊กกี้ระหว่างทำงาน เพราะอาจต้องเจอกับปัญหาอ้วนลงพุงได้
ปรับอารมณ์ การเคร่งเครียดกับการทำงาน ความอ่อนล้าเหน็ดเหนื่อยสะสมเป็นอุปสรรคสำคัญของคนทำงาน การจะผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ต้องฝึกผ่อนคลายอารมณ์ หัดมีอารมณ์ขัน ลองพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานบ้าง หาวิธีคลายเครียดด้วยการนวดใบหู ฟังเพลง หาเวลาไปออกกำลังกายบ้าง หรือพักสายตาสักนิดจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น เพราะหากรู้สึกอ่อนล้าร่างกายจะไม่อยากทำงาน บางทีอาจทำให้คนรอบข้างรู้สึกตามไปด้วย การปรับอารมณ์ให้สดใส สดชื่นจะช่วยเพิ่มพลังใจให้มีแรงสู้กับการทำงาน เพราะสภาพจิตใจมีพลังมากกว่าพลังกายเสียอีก
อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มรู้สึกอ่อนล้าควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์จากธรรมชาติ พร้อมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าโหมงานหนักจนเกินไป จงจำไว้...ร่างกายเราไม่ใช่เครื่องจักรในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น