วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ยิ่งกะพริบตาถี่ยิ่งโกหก

คนเราอยากรู้ว่าพูดจริงหรือเท็จไม่อยากนอกจากให้สังเกตการจ้องตาแล้ว บางทีก็ลองสังเกตเรื่องการกะพริบตา เพราะยิ่งกะพริบถี่มากแค่ไหนยิ่งบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าแฟนของคุณกำลังพูดจาปกปิดอะไรสักอย่าง ที่ไม่ต้องการให้คุณรู้

เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว คนคนนั้นจะไม่มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในแคนาดายังบอกว่า ภาวะนี้ส่งผลต่อปฏิกิริยาทางร่างกายด้วยเช่นกัน โดยนักวิจัยพบว่าคนที่ไม่มีสมาธิจะกะพริบตาถี่กว่าปกติ เพื่อสร้างกำแพงทางกายภาพขนาดจิ๋วระหว่างตัวเองกับโลกภายนอก

ด้าน ดาเนี่ยล สไมเลค นักประสาทวิทยาเกี่ยวกับการรับรู้ของมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ทำการศึกษาว่าคนเรามีสมาธิหรือไม่อย่างไร โดยในการทดลอง สไมเลคได้แรงบันดาลใจจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อคนเราใจลอย หลายส่วนในสมองที่ประมวลผลสิ่งเร้าภายนอกที่ดำเนินอยู่จะทำงานเฉื่อยลง "เราคิดว่าถ้านั่นเป็นจริง เราน่าจะได้เห็นว่าร่างกายเริ่มทำบางสิ่งเพื่อป้องกันสมองจากการรับข้อมูลภายนอก สิ่งที่ง่ายดายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นคือ คุณอาจปิดตาบ่อยขึ้น"

ศาสตราจารย์สไมเลคและทีมนักวิจัยจึงจัดเตรียมการทดลองเพื่อดูว่าอาสาสมัครกะพริบตามากน้อยแค่ไหนเมื่อจิตใจกระเจิดกระเจิงไม่อยู่กับเนื้อกับตัว โดยในการทดลอง อาสาสมัคร 15 คนอ่านข้อความจากหนังสือที่คัดลอกมาไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขณะอ่าน เครื่องเซนเซอร์จะติดตามความเคลื่อนไหวของดวงตา ซึ่งรวมถึงการกะพริบตา และคำที่ตาจ้องอยู่

ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้แบบสุ่ม คอมพิวเตอร์จะส่งเสียงบี๊บ และกลุ่มตัวอย่างรายงานว่าสนใจกับสิ่งที่อ่านอยู่หรือว่าใจลอย ซึ่งรวมถึงการคิดถึงข้อความส่วนก่อนหน้าที่อ่านไป จากรายงานในวารสารไซโคโลจิคัล ไซนส์ของสมาคมจิตวิทยาระบุว่า อาสาสมัครกะพริบตาบ่อยขึ้นเมื่อขาดสมาธิ ศาสตราจารย์สไมเลค เผยว่า "สิ่งที่เราต้องการบอกคือ เมื่อจิตใจของคุณเริ่มล่องลอย คุณจะเริ่มปิดกั้นข้อมูล โดยอาจด้วยการหลับตาลงเพื่อไม่ให้มีข้อมูลเข้าถึงสมอง นักจิตวิทยาตระหนักว่าคุณไม่สามารถคิดถึงกระบวนการทางสมองเหล่านี้ เช่น การมีสมาธิมุ่งมั่น โดยแยกจากข้อเท็จจริงที่ว่าสมองของแต่ละคนอยู่ในร่างกาย และร่างกายมีปฏิกิริยาต่อโลกภายนอก"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น